ฟ้าทะลายโจร รักษา โควิด Covid-19



ท่ามกลางการแพร่กระจายอย่างรุนแรงของการติดเชื้อ Covid-19 ซึ่งเก็บเกี่ยวชีวิตมนุษย์มากกว่า 15ล้านคนทั่วโลกนักวิจัยกำลังค้นหายาที่สามารถใช้งานได้ทันที 
ดังนั้นการใช้ยาและการใช้สารประกอบจากไฟโตเคมีคอลจึงเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ที่กำหนด สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาตัวเลือกในอดีตยังไม่เหมาะสมเนื่องจากประชากรและเศรษฐกิจที่ยากจนอาจปิดการใช้งานความสามารถในการซื้อยาดังกล่าว วิธีการหลังซึ่งการใช้ไฟโตเคมีคอลจากพืชและสมุนไพรนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างมากเนื่องจากสามารถทำให้มีประชากรมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นสารประกอบดังกล่าวมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดและมีคุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ที่ดีซึ่งทำให้พวกเขาถูกแยกออกจากการทดลองทางคลินิกที่น่าเบื่อราคาแพงและใช้เวลานาน ทางนี้,
A. paniculataแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการต่อต้าน Covid-19 และเราได้พิสูจน์กลไกด้วยกล้องจุลทรรศน์ผ่านการสร้างแบบจำลองการคำนวณเชิงเหตุผล ในบรรดาสี่ไฟโตเคมีคอล AGP3 ได้แสดงให้เห็นถึงความผูกพันที่มีผลผูกพันต่อเป้าหมายทั้งสี่ ได้แก่ 3CLpro, PLpro, RdRp และโปรตีนสไปค์ที่มีความแม่นยำในการยับยั้งเป้าหมายในวิธีการรักษา การมีส่วนร่วมที่ตกค้างอย่างชาญฉลาดของพลังงานอิสระที่มีผลผูกพันแสดงให้เห็นว่าในกรณีของ 3CLpro และ RdRp ยังคงมีขอบเขตสำหรับการปรับปรุงผ่านการดัดแปลงทางเคมีของลิแกนด์ ตัวเลือกอื่น ๆ ในการใช้โครงสร้างลิแกนด์เป็นเทมเพลตคือช่วยอำนวยความสะดวกในการกลั่นกรองฐานข้อมูลยาฐานข้อมูลโภชนาการและฐานข้อมูลการแพทย์แผนจีนเพื่อระบุสารประกอบที่ใช้งานมากขึ้นกับเป้าหมายของไวรัส


กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เตรียมนำยาฟ้าทะลายโจรทดลองในคน เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผล รักษา COVID-19 หลังผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

วันนี้ (29 มิ.ย.2563) นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กรมฯ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และองค์การเภสัชกรรม ศึกษานำร่องผลของยาสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยผ่านการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว ซึ่งเดิมขอทำการศึกษาทดลองในผู้ป่วยที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค แต่เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่มาจากต่างประเทศ และอาการไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาที่สถาบันบำราศฯ มีจำนวนน้อย หรือไม่มีผู้ป่วยเลย

กรมฯ จึงขออนุญาตเปลี่ยนสถานพยาบาลศึกษาวิจัยในคนเป็นที่ รพ.สมุทรปราการ และ รพ.บางละมุง เนื่องจากเป็นสถานพยาบาลหลักที่รับผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษาหากตรวจพบว่าป่วยระหว่างการกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ หลังเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ โดยมีความพร้อมตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา และดำเนินการได้ทันที หากมีผู้ติดเชื้อตามเกณฑ์เข้ารับการรักษา

ดันวิจัย "ฟ้าทะลายโจร"

ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินกู้โควิดที่กระทรวงสาธารณสุขประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อใช้ในงานวิจัยสมุนไพรที่มีศักยภาพในการจัดการกับโรค COVID-19 ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการจัดหาฟ้าทะลายโจร เพื่อให้ประชาชนมีติดบ้านติดตัวไว้ เมื่อเริ่มป่วยมีอาการคล้ายไข้หวัดจะได้ใช้เพื่อบรรเทาอาการหวัด หรือหากเป็น COVID-19 ก็หวังว่าจะหายป่วยไปเลย โดยไม่ต้องไปตรวจยืนยันหาเชื้อ และทั้งหมด 100% เป็นการผลิตในประเทศไทย ช่วยให้เกษตรกร ผู้ผลิตมีรายได้ และผู้ป่วยเองปลอดภัย หากผลวิจัยได้ผลออกมาชัดเจนว่า ฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้ ก็จะทำให้ประเทศไทยมีตลาดที่กว้างขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทดลองกับผู้ป่วยอาการน้อย-ปานกลาง

นพ.มรุต กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์การทดลองฟ้าทะลายโจร คือ เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าติดเชื้อโรค COVID-19 มีอาการอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง มีอาการระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คือ ไข้ ไอ ตัวร้อน ซึ่งปกติจะไม่ได้มีการให้ยาชนิดไหนอยู่แล้ว โดยการทดลองในคนระยะแรก เบื้องต้นจะเน้นดูเรื่องความปลอดภัยและต้องการรู้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งในส่วนของอาการที่แสดงและผลของเลือดว่าดีขึ้นอย่างไร และผลเอนไซม์ไซโตไคน์ที่มีผลทำลายต่อปอด หัวใจ ตับลดลงใช่หรือไม่ ซึ่งฟ้าทะลายโจรมีส่วนที่ช่วยป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ก่อโรค COVID-19 ไม่ให้เข้าเซลล์ เมื่อเข้าไปแล้วก็ลดการแบ่งตัว ยับยั้งเชื้อหรือฆ่าเชื้อ โดยเป็นสมุนไพรที่ผลิตในประเทศไทยและมีราคาถูก


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม